เหล็กเส้นก่อสร้าง (Reinforced Steel Bar) หรือที่บางคนเรียกว่าเหล็กเสริม เป็นผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นที่มีปริมาณการใช้มากที่สุด
ใช้ในการรับแรง สำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กและงานก่ออิฐทั่วไป เหล็กเส้นมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ และเหล็กเส้นข้ออ้อย
เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากประมาณ 2400 ksc. ผิวเหล็กที่มีลักษณะกลมเรียบ
จึงทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กกับ คอนกรีตไม่ดีจึงต้องมีการงอขอเพื่อที่จะสามารถถ่ายแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะของเหล็กเส้นกลมที่ดีต้องมีผิวเรียบเกลี้ยง หน้าตัดกลม ไม่มีรอยปริแตก ไม่มีปีก ไม่เบี้ยว ไม่มีลูกคลื่น
เหล็กเส้นข้ออ้อย คือเหล็กเส้นกลมที่มีบั้ง และอาจมีครีบ ผิวของเหล็กเส้นจะมีลักษณะเป็นปล้องๆอยู่ตลอดเส้น เพื่อเสริมกำลังยึดเกาะให้เหล็กกับ
คอนกรีตมากขึ้น มีหลายชนิด แตกต่างกันที่ส่วนผสมของเนื้อเหล็ก โดยมีส่วนประกอบทางเคมีที่ต่างกัน เช่น เหล็กข้ออ้อย SD30, SD40, SD50
มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3000, 4000, 5000 ksc.ตามลำดับ ซึ่งหมายความว่าเหล็กข้ออ้อยจะรับแรงได้มากกว่าเหล็กเส้นกลมเรียบ
และจะให้ผลที่ดีต่อการรับน้ำหนักมากกว่า การเลือกใช้ชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30, SD40, และ SD50 ขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างเป็นสำคัญ
ลักษณะของเหล็กเ้ส้นข้ออ้อยที่ดี ต้องมีระยะบั้งที่เท่ากันและสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น ไม่มีสนิมรอยตำหนิ ไม่มีรอยปริและแตกร้าว
การตัดเหล็กเส้นข้ออ้อยด้วยเครื่องตัดเหล็กไฟฟ้า
ในปัจจุบันการก่อสร้างนิยมใช้เหล็กข้ออ้อยมากกว่าเหล็กเส้นกลม เพราะมีคุณภาพสูงกว่า ทั้งด้านแรงดึงที่จุดคราก และแรงยึดเกาะคอนกรีต
นอกจากนี้สัดส่วนการใช้เหล็ก SD50 แล SD40 ยังเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า SD30 อีกด้วย
เนื่องจากในการก่อสร้างการใช้วัสดุที่เหมาะสมช่วยหลีกเลี่ยงการยุบตัวของสิ่งก่อสร้าง
ความล้มเหลวของการก่อสร้างและสามารถทน ต่อแรงแผ่นดินไหว ดังนั้นการใช้เหล็กที่มีคุณภาพจะได้เปรียบกว่า
การใช้จ่ายเงินจำนวนมากในการฟื้นฟูบูรณะในระยะต่อมาเมื่ออาคารมีการยุบ